วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Recorded Diary 17

Recorded Diary 17


Thursday 28  November  2019

Time 13:30 - 17:30 o'clock





  The knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ) 

     วันนี้เป็นการเรียนการสอนครั้งสุดท้าย อาจารย์ให้คนที่สอนยังไม่ผ่านในสัปดาห์ที่เเล้วกลับมาสอนใหม่ให้ดีกว่าเดิมจากสัปดาห์ที่เเล้วเเต่ก็ยังมีติดขัดอยู่บ้าง



บรรยากาศในการเรียน






Assesment ประเมิน


our self ตัวเอง :ตั้งใจฟังเรียน
Friend เพื่อน : เพื่อนๆมาเรียนตรงเวลา
Teacher อาจารย์ : อาจารย์ให้คำเเนะนำชี้เเนะในการปรับปรุงเเผน



วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Recorded Diary 16

Recorded Diary 16


Monday  25  November  2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock






  The knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ) 

    วันนี้อาจารย์ให้สอนแผนเสริมประสบการณ์ และฉันสอนแผนเสริมประสบการณ์ เรื่อง ภูเขาไฟ            โดยมีเเผ่นชาร์ตรูปภูเขาไฟเเละมีการทดลองภูเขาไฟให้เพื่อนๆที่เป็นเด็กได้ส่วนร่วมในการสอนของดิฉัน


รูปภาพการสอน





Assesment ประเมิน


our self ตัวเอง :เตรียมตัวในการสอน
Friend เพื่อน : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียน
Teacher อาจารย์ : อาจารย์ให้คำเเนะนำเกี่ยวกับแผนเเละการปรับปรุงเเผนให้ดีขึ้น


วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Recorded Diary 15

Recorded Diary 15


Monday  18  November  2019

Time 13:30 - 17:30 o'clock




  The knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ) 



วันนี้อาจารย์ให้เรียนเกี่ยวกับ ทักษะ EF และ ไฮสโคป กับเด็กปฐมวัย

Executive Functions (EF) 

คือ กระบวนการทำงานของสมองส่วนหน้า ซึ่งมีความสำคัญในการควบคุมอารมณ์ ความคิด การวางแผนและการแก้ไขปัญหา ซึ่งลูกจะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ จากความจำมาสู่การกระทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้น  ช่วงวัยที่เหมาะสมจะพัฒนา EF คือ ช่วง 3 – 6 ปี เพราะหากเป็นช่วงวัยเรียน วัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ก็พัฒนาได้ แต่จะได้ไม่มากเท่ากับเด็กปฐมวัย

Executive Functions (EF)

ประกอบด้วย 9 ทักษะ ได้แก่

1. ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory)กิจกรรมที่ควรส่งเสริม 

2. ทักษะการยั้งคิด (Inhibitory Control)
3. ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility)
4. ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus)
5.การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control)
6. การวางแผนและการจัดการ (Planning and Organizing)
7. การประเมินตนเอง (Self-Monitoring)
8. การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating)
9. มีความเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย (Goal-Directed Persistence)

     แนวการสอนแบบไฮสโคป  (High/Scope)        

   การสอนเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้พัฒนาคน  การเรียนรู้และการสอนทำให้มีการคิดเชื่อมโยงความรู้ได้อย่างรวดเร็ว  การศึกษาปฐมวัยจึงเป็นการศึกษาที่จัดให้แก่เด็ก  6  ขวบแรก  เป็นการจักการศึกษาเพื่อการดูแล  และสร้างเสริมเด็กให้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ  ด้วยการเรียนรู้ที่ถูกต้องแจ้งชัด  ลักษณะการจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งจำเพาะไปที่พัฒนาเด็ก  ใจเด็ก  และอนาคตเด็ก        การสอนเด็กปฐมวัยไม่ใช่การถ่ายทอดความรู้  แต่เป็นการจัดประสบการณ์อย่างมีรูปแบบเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ  พัฒนาสมรรถนะทางปัญญา  และพัฒนาจิตนิยมที่ดี  การเรียนการสอนสำหรับปฐมวัย มีหลากหลายรูปแบบ  แต่สำหรับรูปแบบที่ผู้เขียนจะนำเสนอนั้นก็เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มีความน่าสนใจอีกรูปแบบหนึ่ง  รูปแบบการเรียนการสอนที่ว่านั้นก็คือ  รูปแบบการเรียนการสอนแบบไฮ/สโคปความเป็นมา        การเรียนการสอนแบบไฮ/สโคป  เป็นแนวคิดการจัดการศึกษาที่พัฒนามาจากโครงการ เพอรี่ พรีสคูล (Perry Preschool Project) เมืองยิปซีแลนติ (Ypsilanti) รัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1960 โดย เดวิด ไวคาร์ด (David Weikart) และคณะ เป็นโปรแกรมการศึกษาที่มีหลักสูตรและการสอนเน้นการเรียนรู้โดยใช้หลักการสร้างความรู้ (constructive process) จากการกระทำ ที่ต้องมีการร่วมกันคิดร่วมกันทำตามแผนที่กำหนด ซึ่งต่อมาได้มีผู้นำรูปแบบการศึกษาของไฮสโคปไปใช้อย่างแพร่หลาย รวมถึงการนำมาใช้กับการเรียนการสอนระดับปฐมวัยศึกษาด้วยแนวคิดพื้นฐาน            การสอนแบบไฮ/สโคป มีพื้นฐานแนวคิดมาจากทฤษฎีของเพียเจท์ (Piage’s Theory)ว่าด้วยพัฒนาทางสติปัญญา ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติที่เด็กสามารถสร้างความรู้ได้เองโดยใช้กระบวนการสร้างสรรค์การเรียนรู้ (Constructive process of learning) เด็กจะเรียนรู้จากการกระทำของตน การประเมินผลงานอย่างมีแบบแผน ช่วยให้เด็กเกิดความรู้ขึ้น  เด็กสามารถสร้างความรู้ได้จากประสบการณ์ที่มีความหมาย ซึ่งจากแนวคิดนี้ ในการเรียนเด็กสามารถเลือกเรียนเลือกปฏิบัติจัดกระทำดำเนินการเรียนรู้และประเมินผลงานของตนเอง  เด็กจะได้รับการกระตุ้นจากครูให้คิดนำอุปกรณ์มากระทำหรือเล่นด้วยการวางแผนการทำงาน แล้วดำเนินตามแผนไว้ตามลำดับพร้อมแก้ปัญหาและทบทวนงานที่ทำด้วยการทำงานร่วมกันกับเพื่อนเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยมีครูคอยให้กำลังใจ  ถามคำถาม  สนับสนุน และเพิ่มเติมสิ่งที่เด็กต้องเรียนรู้ แนวคิดสำคัญ        แนวการสอนแบบไฮ/สโคปเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย  ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับการพัฒนาการของเด็กและการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้นการเรียนการสอนการเรียนการสอนแบบไฮ/สโคป เป็นการสร้างองค์ความรู้จากการที่เด็กได้ลงมือจัดกระทำกับอุปกรณ์ หรือสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นประสบการณ์ตรง  โดยที่ครูจะเป็นคนเตรียมอุปกรณ์ให้กับเด็กและกระตุ้นให้เด็กพัฒนาและดำเนินกิจกรรม โดยใช้หลักปฏิบัติ 3  ประการ  คือ
- การวางแผน ( Plan ) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติหรือดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย  มีการสนทนาระหว่างครับเด็ก  ว่าจะทำอะไร อย่างไร  การวางแผนกิจกรรมอาจจะใช้แสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็ก  เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือก และตัดสินใจ
- การปฏิบัติ ( Do ) คือการลงมือกระทำตามแผนที่วางไว้  เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา  ตัดสินใจและทำด้วยตนเอง  เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพัธ์ทางสังคมสูง
- การทบทวน ( Review ) เป็นช่วงที่ได้งานตามจุดประสงค์  ช่วงนี้จะมีการอภิปรายและเล่าถึงผลงานที่เด็กทำเพื่อทบทวนว่า เด็กสามารถปฏิบัติตามแผนที่วางไว้หรือไม่  มีการเปลี่ยนแปลงแผนอย่างไร  และชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างแผนกับการปฏิบัติ  และผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับ            
การที่เด็กได้ลงมือทำงามหรือกิจกรรมด้วยความสนใจ  จะทำให้เด็กสนุกกับการทกงาน  การทำตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ผลงานที่เกิดขึ้นนับเป็นความสำเร็จของเด็กในการลงมือทำกิจกรรมกับเพื่อนอย่างมีความสุข






Assesment ประเมิน


our self ตัวเอง :ตั้งใจฟังอาจารย์สอนเป็นอย่างดี
Friend เพื่อน : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียน
Teacher อาจารย์ : อาจารย์สอนและอธิบายละเอียด


วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Recorded Diary 14

Recorded Diary 14



Monday  11  November  2019

Time 13:30 - 17:30 o'clock





         วันนี้มีกิจกรรมเกี่ยวกับการวางแผนการจัดสภาพแวดล้อมของห้องปฎิบัติการ เพื่อให้เกิดความเรียบร้อย และมีบรรยากาศที่เหมาะกับการเรียน 




Assesment ประเมิน


our self ตัวเอง :เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย
Friend เพื่อน : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำความสะอาดห้อง
Teacher อาจารย์ : อาจารย์สอนการจัดระเบียบของให้เป็นที่


วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Recorded Diary 13

Recorded Diary 13



Monday  4 November  2019

Time 13:30 - 17:30 o'clock








              วันนี้ไม่มีการเรียน เนื่องด้วย วันที่ 4 และ 5 พฤศจิการยน 2562 คณะรัฐมนตรีจะมีการประชุมสุดยอดอาเซียนเพื่อลดปัญหาการจราจรและอำนวยความสะดวกมหาวิทยาลัยจึงขอประกาศเป็นวันหยุดพิเศษ




วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2562

Recorded Diary 12

Recorded Diary 12

Monday  28 October  2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock




  The knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ) 




 อาจารย์ประจำสาขาการศึกษา ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม ผู้ช่วยศาสตรจารย์ กรรณิการ์ สุสม
และเป็นการเรียนการเรียนที่นำทั้งสองเซกมารวมกันเพื่อให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับหัวข้อเรื่อง สารนิทัศน์

     สารนิทัศน์ มาจากคำว่า “สาระ” หมายถึง ส่วนสำคัญ ถ้อยคำ มาผสมกับคำว่า
“นิทัศน์” หมายถึงตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็นดังนั้น “สารนิทัศน์”จึงมีความหมายว่า ส่วนสำคัญที่นำมาเป็นตัวอย่างแสดงให้ผู้อื่นเห็น ในทางการศึกษาปฐมวัยมีคณาจารย์นำสารนิทัศน์มาใช้อย่างหลากหลาย

     โดยสารนิทัศน์ให้ประโยชน์ต่อการแสดงภาพของเด็กโดยกระบวนการด้านเอกสารข้อมูลอย่างชัดเจน ดังนั้น การจัดทำสารนิทัศน์ จึงหมายถึง การจัดทำข้อมูลที่เป็นหลักฐานหรือแสดงให้เห็นร่องรอยของการเจริญเติบโต พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจากการทำกิจกรรม ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มซึ่งหลักฐานและข้อมูลดังกล่าวที่บันทึกเป็นระยะๆ จะเป็นข้อมูลอธิบายภาพเด็ก ที่บ่งบอกถึงพัฒนาการของเด็กได้ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคมสติปัญญา และแม้แต่สุขภาพ

-คุณค่าและความสำคัญ
-รูปแบบของการไตร่ตรองสารนิทัศน์
-กิจกรรมหลัก 4 กิจกรรมของกระบวนการเรียนรู้โดยใช้วิธีการไตร่ตรองสารนิทัศน์
-ประเภทของสารนิทัศน์
-คำถามที่ครูควรใช้ถามเด็กปฐมวัย
-การประเมินพัฒนาการทางการคิดของเด็กปฐมวัย
-การใช้ผังกราฟฟิกเพื่อพัฒนาการคิดของเด็กปฐมวัย








Assesment ประเมิน


our self ตัวเอง :ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและจดตามที่อาจารย์สอน
Friend เพื่อน : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการอบรมเป็นอย่างดี
Teacher อาจารย์ : อาจารย์สอนสนุกเเละใจดีเเละยังให้ความรู้เพิ่มเติม



วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2562

Recorded Diary 11

Recorded Diary 11

Monday  21 October  2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock




  The knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ) 


วันนี้อาจารย์ให้เเบ่งกลุ่มและให้เเต่ล่ะกลุ่มวาดแม่น้ำอะไรก็ได้และหลังจากนั้นให้เพื่อนทายว่าคือแม่น้ำอะไรและให้สร้างแทงค์น้ำจากหนังสือพิมพ์



 


 






Assesment ประเมิน


our self ตัวเอง :เข้าเรียนตรงเวลา
Friend เพื่อน : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียน
Teacher อาจารย์ : อาจารย์ให้เทคนิคในการตั้งฐานหนังสือพิมพ์