วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2562

Recorded Diary 12

Recorded Diary 12

Monday  28 October  2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock




  The knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ) 




 อาจารย์ประจำสาขาการศึกษา ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม ผู้ช่วยศาสตรจารย์ กรรณิการ์ สุสม
และเป็นการเรียนการเรียนที่นำทั้งสองเซกมารวมกันเพื่อให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับหัวข้อเรื่อง สารนิทัศน์

     สารนิทัศน์ มาจากคำว่า “สาระ” หมายถึง ส่วนสำคัญ ถ้อยคำ มาผสมกับคำว่า
“นิทัศน์” หมายถึงตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็นดังนั้น “สารนิทัศน์”จึงมีความหมายว่า ส่วนสำคัญที่นำมาเป็นตัวอย่างแสดงให้ผู้อื่นเห็น ในทางการศึกษาปฐมวัยมีคณาจารย์นำสารนิทัศน์มาใช้อย่างหลากหลาย

     โดยสารนิทัศน์ให้ประโยชน์ต่อการแสดงภาพของเด็กโดยกระบวนการด้านเอกสารข้อมูลอย่างชัดเจน ดังนั้น การจัดทำสารนิทัศน์ จึงหมายถึง การจัดทำข้อมูลที่เป็นหลักฐานหรือแสดงให้เห็นร่องรอยของการเจริญเติบโต พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจากการทำกิจกรรม ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มซึ่งหลักฐานและข้อมูลดังกล่าวที่บันทึกเป็นระยะๆ จะเป็นข้อมูลอธิบายภาพเด็ก ที่บ่งบอกถึงพัฒนาการของเด็กได้ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคมสติปัญญา และแม้แต่สุขภาพ

-คุณค่าและความสำคัญ
-รูปแบบของการไตร่ตรองสารนิทัศน์
-กิจกรรมหลัก 4 กิจกรรมของกระบวนการเรียนรู้โดยใช้วิธีการไตร่ตรองสารนิทัศน์
-ประเภทของสารนิทัศน์
-คำถามที่ครูควรใช้ถามเด็กปฐมวัย
-การประเมินพัฒนาการทางการคิดของเด็กปฐมวัย
-การใช้ผังกราฟฟิกเพื่อพัฒนาการคิดของเด็กปฐมวัย








Assesment ประเมิน


our self ตัวเอง :ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและจดตามที่อาจารย์สอน
Friend เพื่อน : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการอบรมเป็นอย่างดี
Teacher อาจารย์ : อาจารย์สอนสนุกเเละใจดีเเละยังให้ความรู้เพิ่มเติม



วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2562

Recorded Diary 11

Recorded Diary 11

Monday  21 October  2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock




  The knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ) 


วันนี้อาจารย์ให้เเบ่งกลุ่มและให้เเต่ล่ะกลุ่มวาดแม่น้ำอะไรก็ได้และหลังจากนั้นให้เพื่อนทายว่าคือแม่น้ำอะไรและให้สร้างแทงค์น้ำจากหนังสือพิมพ์



 


 






Assesment ประเมิน


our self ตัวเอง :เข้าเรียนตรงเวลา
Friend เพื่อน : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียน
Teacher อาจารย์ : อาจารย์ให้เทคนิคในการตั้งฐานหนังสือพิมพ์


วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2562

Recorded Diary 10

Recorded Diary 10

Monday  7 October  2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock






  The knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ) 

วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับเรื่องแนวการสอนแบบโปรเจคและเป็นการเรียนรวมกัน กลุ่มฉันทำโปรเจคเกี่ยวกับ ดินสอ 

การสอนแบบโครงการ (Project Approach)

        การสอนแบบโครงการเป็นการจัดการเรียนการสอนที่มีลักษณะสำคัญดังนี้ 

ความคิดพื้นฐานเชื่อว่า การเรียนรู้ของเด็กมาจากการกระทำ เด็กเป็นผู้ที่ต้องพัฒนา มีความคิด มีความ มุ่งหมายความต้องการที่จะเรียนรู้ทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นของตนเองต้องพึ่งตนเองการสอนแบบโครงการมุ่งพัฒนาทางร่างกายและจิตใจของเด็กไปพร้อมกัน

วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ 

ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ 

ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไรกำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา

ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ที่เน้นระบวนการแก้ปัญหาจัดเป็นหัวใจของการสอนแบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานเพราะเด็กได้สนทนา พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ ขณะเดียวกันเด็กสามารถค้นความรู้จากแหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ การอ่านหนังสือ เป็นต้น 

ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ ทบทวนการปฏิบัติและวางแผนโครงการใหม่วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้รับมอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหาหรือให้เด็กนำเสนอผลงานในรูปของการจัดแสดงจัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน








Assesment ประเมิน


our self ตัวเอง :ตั้งใจฟังอาจารย์และเพื่อนๆพูด
Friend เพื่อน : เพื่อนๆมาเรียนตรงเวลา
Teacher อาจารย์ : อาจารย์อธิบายเข้าใจและมีตัวอย่างให้ดู